Powered By Blogger

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักของการทำครัว

    การทำอาหารนั้นไม่เพียงแต่ทำแล้วให้สามารถทานได้เท่านั้น แต่ทำทั้งทีต้องทำให้มันอร่อยถึงจะคุ้มค่ากับการลงมือทำซักหน่อย หัวใจสำคัญมันก็อยู่ที่การเลือกวัตถุดิบไม่เพียงแต่ส่วนประกอบหลักเท่านั้น เครื่องปรุงก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กะปิ น้ำปลา หอม กระเทียม น้ำมัน ซ๊อสปรุงรส และอื่น ๆ ต้องใช้ของดีมีคุณภาพ ถ้าไม่ดีก็จะทำให้อาหารเสียรสชาติได้ ก่อนจะลงมือทำ เราลองมาดูหลักการทำครัวที่ดีกันก่อนนะครับ
             1. ก่อนทำ เราต้องวางโครงการก่อนว่าจะทำอะไรบ้าง ดังนี้
                - สิ่งที่จะทำนั้นมีความรู้ หรือมีตำราที่ถูกต้องแล้วหรือยัง
                - จะต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้อะไรบ้าง เตรียมไว้ให้พร้อม
                - เตรียมส่วนผสมไว้ให้ครบ เวลาไปจ่ายตลาดหากกลัวซื้อของไม่ครบ ควรจะมีบัญชีรายการอาหาร เพราะจะทำให้เสียเวลา หรือเสียรสชาติ หากส่วนผสมไม่ครบตามสูตร
             2. หลังทำ ต้องเก็บล้างทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ให้เรียบร้อย และเก็บเข้าที่ให้เป็นระเบียบ
    เป็นไงครับหลักการง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากอะไรเลย เพื่อให้การทำครัวสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต่อไปเรามาดูสิ่งสำคัญที่ควรทราบในการทำอาหารแต่ละชนิดกันนะครับ
             1. ในการทำน้ำพริก ถ้าจิ้มผักต้มกะทิ น้ำพริกต้องเหลว มีรสเค็ม เปรี้ยว หวาน ให้จัดหน่อย ถ้าจิ้มผักดองไม่ต้องเปรี้ยวจัด ถ้าจิ้มผัดดิบ ผักชุบไข่ทอด หรือคลุกข้าว น้ำพริกต้องข้น และมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน เสมอกัน
             2. การคลุกยำ เมื่อเตรียมเครื่องยำเสร็จแล้ว รีบคุลกทีเดียวไว ๆ ไม่ควรค่อย ๆ เติม มิฉะนั้นยำจะไม่น่ารับประทาน
             3. การผััด ต้องใช้ไฟแรง ๆ เตรียมเครื่องให้เสร็จแล้วผัด อย่าปรุงรสบ่อย ๆ ทำให้เสียเวลา เพราะของบางอย่างเมื่อถูกความร้อนมากเกินไปจะเสียรส ความอร่อยของผักจะอยู่ที่ผักกรอบและเนื้อสัตวว์ต้องนุ่ม เพราะฉะนั้นการผัดต้องผัดอย่างว่องไว
             4. การทอด จะต้องไม่ใช้ไฟแรงหรืออ่อนเกินไป ถ้าไฟแรงเกินไปจะทำให้ข้างนอกไหม้ แต่ข้างในไม่สุก ถ้าเป็นของที่ต้องการให้กรอบก็จะไหม้เสียก่อน ถ้าเป็นเนื้อสัตว์แล้วใช้ไฟอ่อนเกินไปข้างในสุก แต่ข้างนอกจะไม่ทันเกรียม นอกจากนี้น้ำในเนื้อจะออกมาปนกับน้ำมัน ทำให้มีกลิ่นเหม็นสาบ และเนื้อจะมีสีดำไม่น่ารับประทานอีกด้วย
             5. การลวก ต้องให้น้ำเดือนพล่านก่อนจึงใส่ผัก (ถ้าเป็นผักสีเขียวให้เติมเกลือลงไปในน้ำเล็กน้อย จะทำให้ผักมีสีเขียวสดน่ารับประทาน) พอสุกตักขึ้น
             6. การทำแกงจืด ต้องใช้ไฟแรง ถ้าแกงจืดนั้นเป็นเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ จะต้องใส่เนื้อพร้อมกับน้ำแล้วนำขึ้นตั้งไฟ ถ้าเป็นปลาต้องตั้งน้ำให้เดือดก่อนจึงใส่ปลา การใส่ผักต้องสังเกตว่าผักชนิดใดควรเคี้ยวให้เปื่อย และผักชนิดใดต้องใส่ก่อนน้ำเดือด
            7. วิธีทำน้ำต้มกระดูกหมู กระดูกไก่ ทุบกระดูกให้แตก แช่น้ำเย็นไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงยกขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวนาน ๆ จนน้ำงวดลงไป 1 ใน 3 ส่วน แล้วกรองเอาน้ำออกใส่ภาชนะไว้ต่างหาก จากนั้นจึงเติมน้ำเปล่าลงไปครึ่งหม้อ พอเดือดใส่ผัก เช่น ผักชี คื้นฉ่าย หัวผักกาดขาว จำทำให้น้ำซุปหวานยิ่งขึ้น
     นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เช่น
            - เนื้อสัตว์ที่หั่นหรือสับแล้ว ควรรีบเอาออกใส่ภาชนะไว้ ไม่ควรทิ้งไว้บนเขียง เพราะจะทำให้มีกลิ่นเขียงติดได้
            - ช้อนหรือทัพพี ที่ทำด้วยอลูมิเนียมไม่ควรใช้คนอาหารที่ร้อนจัด จะทำให้ละลายปนลงไปในอาหารได้ (สังเกตดูในรายการทำอาหารทางโทรทัศน์ จะใช้เป็นไม้นะครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น